ซูชิบอย Sushi Boy ไอเดียสร้างธุรกิจ กับ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Concept-Stayle
ซูชิบอย Sushi Boy ไอเดียสร้างธุรกิจ กับ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Concept-Stayle
Advertisements
ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างปัจจุบัน การมีธุรกิจส่วนตัวเป็นความฝันอย่างหนึ่งของมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ซึ่งเกิน 50% ธุรกิจแรกที่มนุษย์เงินเดือนนึกถึงนั่นคือ “ธุรกิจอาหาร” จึงทำให้ร้านอาหารใหม่ๆ ผุดขึ้นมาแทบทุกหย่อมหญ้า แต่ใช่ทว่าทุกร้านจะประสบความสำเร็จ ทำยอดขายทะลุร้อยล้านได้ Sushi Boy ( ซูชิบอย ) ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของความสำเร็จที่สร้างธุรกิจจากพรแสวงล้วนๆ
จากเด็กหนุ่มมนุษย์เงินเดือน ที่คร่ำหวอดในวงการโฆษณากว่า 10 ปี จนสามารถพลิกผันตัวเองมาเป็นเจ้าของธุรกิจ ชนิดที่ว่า “เทหน้าตัก ทุ่มหมดตัว” จนสามารถสร้างแบรนด์ซูชิบอยให้เป็นที่รู้จักได้อย่างทุกวันนี้ อะไรคือเคล็ดลับแห่งความสำเร็จในการทำธุรกิจตั้งแต่อายุยังน้อย ‘ตั้ม’ กฤษดา สาระคุณ จะเป็นผู้เปิดเผยความลับให้เราฟังในวันนี้
ถ้าปล่อยให้เวลาไหลไปเรื่อย ชีวิตก็เอื่อยไม่มีจุดหักเห
ชายหนุ่มผู้คร่ำหวอดในวงการโฆษณามากว่า 10 ปี เป็นผู้คิดแผนกลยุทธ์ให้แก่ลูกค้ามากมาย เป็นหัวหน้าโค้ชคอยสร้างแบรนด์ให้กับคนอื่นๆ มานับไม่ถ้วน กระทั่งวันหนึ่งเกิดถามตัวเองขึ้นมาว่า “เฮ้ย! เราสร้างแบรนด์ให้คนอื่นเขาได้ แต่ทำไมไม่สร้างให้ตัวเองบ้างล่ะ” คำถามที่เกิดขึ้น หากเมื่อคิดถึงจุดอิ่มตัว ของการทำงานโฆษณา เขาคิดว่ามันถึงเวลาแล้วที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างในชีวิต หรือจะปล่อยเวลาให้เดินผ่านไปเรื่อยๆ ชีวิตก็คงไหลเรื่อยเปื่อยไปตามเวลาที่ค่อยๆจางหาย
“บทพิสูจน์ที่ว่าเก่งแต่ในตำราจึงเกิดขึ้น” จากนั้น กฤษดา ได้มีโอกาสไปอาศัยอยู่ต่างประเทศกับภรรยา วินาทีนั้นเขาค้นหาโปรดักส์(Prodct) ที่จะนำมาเป็นส่วนในการสร้างแบรนด์ ในเมื่อเขายังไม่มีโปรดักส์ในมือ เขาก็ต้องค้นหาให้เจอจากสิ่งที่ชอบ ซึ่งเขาก็พบว่ามี 2 อย่างที่เขาชอบ คือ รถ กับ อาหารญี่ปุ่น
ในการค้นหาของ กฤษดาเลือกที่จะทำงานทั้งคาร์แคร์และร้านอาหารญี่ปุ่นไปพร้อมๆ กัน เขายอมนอนแค่วันละ 4 ชั่วโมง โหมงานอย่างหนัก เพื่อให้ได้คำตอบในสิ่งที่ตามหา กระทั่งเวลาผ่านไป เขาสามารถตอบตัวเองได้ว่าสิ่งที่ชอบคืออะไร “เราต้องไม่ใช่แค่คนเก่งวิชาการอีกต่อไป” เขาจึงนำประสบการณ์การทำงานทั้งหมดมาวิเคราะห์จับตลาดในเมืองไทย สำรวจพฤติกรรมผู้บริโภค นำทุกสิ่งอันมาขยำยำในหัว จนได้คำตอบว่าเขาเลือกที่จะทำ ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น แต่จะไม่ใช่เพียงแค่ร้านอาหารญี่ปุ่นธรรมดาๆ แต่ต้องเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น แท้ๆ และต้องทำประสบความสำเร็จตามฝันที่วางไว้ให้จงได้
อุปสรรคคือแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่
ชายหนุ่มที่เคยทำงานโฆษณา เงินเดือนดี รายได้งาม ยอมลาออกแล้วกรำงานหนักทั้งวันทั้งคืน เพื่อเก็บเงินทุกบาททุกสตางค์ มาเป็นทุนในการเปิดธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น Sushi Boy ( ซูชิบอย ) เท่านั้นยังไม่พอเขายังขายรถขายทุกสิ่งที่เป็นเงิน เพื่อมาเป็นทุนสร้างชีวิต แต่ทางเดินก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เขาให้เวลาตัวเอง 3 เดือนในการพิสูจน์ ถ้าไปไม่รอดก็พร้อมที่จะอพยพกลับไปอยู่เมืองนอก ดังนั้นเวลา 3 เดือนที่เขาพิสูจน์ตัวเองและความทรหดอดทนเป็นอย่างมาก
เริ่มต้นจากก้าวแรกในการหาทำเล (place) ในการขายสินค้าก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ถึงแม้ในมือเขาจะถือแผนธุรกิจที่ถูกเขียนมาอย่างดีเยี่ยม แต่เขาก็ยังไม่มีโอกาสได้พรีเซ็นต์แม้แต่โปรไฟล์ตัวเอง ทุกห้างชั้นนำในเมืองไทยไม่มีที่ไหนที่ กฤษดายังไม่ได้ก้าวเข้าไป เขาใช้ทั้งลูกตื๊อ ทั้งอ้อนวอนสารพัด เพื่อขอเข้าไปพรีเซ็นต์ แต่เสียงของผู้ประกอบการโนเนมช่างเบาเสียเหลือเกิน ไม่มีใครให้โอกาสแม้แต่จะรับฟัง กระทั่งเขาเกือบจะถอดใจยุติทุกอย่าง
“แต่แสงสว่างก็เกิดขึ้น” มีคนยื่นโอกาสให้เขาได้นำเสนอ ถึงแม้จะมีผู้สมัครเยอะแต่เขาก็สามารถเอาชนะจนได้ เขามีสถานที่เปิดร้านแล้ว ก้าวแรกในการทำธุรกิจได้เกิดขึ้น วินาทีนั้นกฤษดาจำเสียงร้องตะโกนไชโยได้ดี แต่เมื่อลงมือจริงทุกอย่างกับล้มเหลวไม่เป็นท่า เขาเปิดร้านได้เพียงสองวันก็ต้องปิดตัวลง แล้วถอยกลับมาตั้งสติใหม่ กลยุทธ์แผนงานต่างๆ ที่วางไว้ตั้งแต่เมืองนอกกลับใช้ไม่ได้จริงที่นี่
เขาจึงเริ่มนับหนึ่งใหม่ นำประสบการณ์ทำงานทั้งชีวิตมาจับพฤติกรรมผู้บริโภคอีกครั้ง มองแบบ insight ให้ลึกลงไปยังผู้บริโภคว่าต้องการอะไร เรียนรู้ว่า ถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะเปิดร้าน แต่ดันทุรังที่จะเปิดให้ได้ เมื่อลูกค้าเกิดความไม่ happy กับสินค้าแม้แต่ครั้งเดียว ลูกค้าจะไม่มีทางกลับมาเป็นครั้งที่สอง เขายึดหลักที่ว่า ‘รักษาลูกค้าเก่าลงทุนน้อยกว่าการดึงดูดลูกค้าใหม่’ ต่อให้ซินแสที่ว่าดังหาฤกษ์มาดีแค่ไหน แต่ถ้ามันไม่พร้อม โอกาสที่ธุรกิจจะไปรอดก็มีน้อย
ครีเอทีฟสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ
ด้วยความที่กฤษดา หรือ”ตั้ม” เป็นมือฉมังในการทำงาน Agency โฆษณา การวางแผนกลยุทธ์ทำการตลาดต่างๆ ของ Sushi Boy ( ซูชิบอย ) ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น จึงมีกลิ่นอายของความคิดสร้างสรรค์ ดังจะเห็นได้จากคอนเซ็ป Fresh, Fun, Fusion ที่สะท้อนแบรนด์ซูชิบอย ทุกอย่างจึงผสมผสานลงตัวเป็นธุรกิจ “ไคเตน” หรือซูชิสายพาน เขาใช้ไอเดียในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ตรงกับจุดขายที่วางไว้ นั่นคือ
Fresh วัตถุดิบต้องสด ใหม่
Fun คือสนุกในการรับประทาน บรรยากาศต้องเป็นกันเอง เชฟสามารถพูดคุยกับลูกค้าได้ สุดท้ายคือ
Fusion เป็นสไตล์อาหารที่ผสมผสานสองวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน นั้นคือ ตะวันตกและตะวันออก
ซึ่งอาหารสไตล์นี้สามารถเพิ่มมูลค่าได้มากกว่าเดิม เพราะถือว่าเป็นค่าไอเดียในการตกแต่ง ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมในการรังสรรค์เมนูใหม่ๆ ได้เต็มที่ เป็นการสร้าง Brand experience ให้ลูกค้ามีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์ เมื่อลูกค้าเกิดความพึงพอใจและกลับมาซื้อซ้ำ จนเกิด Brand royalty คือ ความภักดีต่อแบรนด์
Advertisements
หัวใจสำคัญของ Sushi Boy ( ซูชิบอย ) ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น คือ
ทำด้วยใจรัก ยึดมั่นในคำกล่าวที่ว่า ‘สิ่งที่ดีที่สุดไม่มีอยู่จริง โลกนี้ไม่มีที่เป็นที่สุด ขอบโลกไม่มีอยู่จริง เราต้องออกค้นหาและพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง’ นั่นจึงทำให้ซูชิบอยมีเมนูที่หลากหลายและแตกต่างจากคู่แข่งในตลาดเดียวกัน
ทั้งหมด คือ กุญแจไขความสำเร็จของแบรนด์ Sushi Boy ( ซูชิบอย ) ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นก้าวย่างอย่างช้าๆ ที่เติมเปี่ยมด้วยความมั่นใจ เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมจะกลับมาสำรวจจุดยืนของแบรนด์และกลยุทธิ์ที่วางไว้ ว่ามาถูกทางหรือไม่ เมื่อคำตอบคือใช่ การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่จึงเกิดขึ้น จากร้านอาหารญี่ปุ่นเล็กๆ สู่ธุรกิจยอดขายร้อยล้านบาทนั่นเอง
เขียนโดย Eskinomiz
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
ข้อมูลธุรกิจ
Sushi Boy
http://www.sushiboy.co.th/
Leave a comment