bannera1

8 รอยรั่ว ธุรกิจขนาดเล็ก “เจ๊งไม่เป็นท่า” เพราะไม่รู้จักอุดรอยรั่วธุรกิจ

8 รอยรั่ว ธุรกิจขนาดเล็ก “เจ๊งไม่เป็นท่า” เพราะไม่รู้จักอุดรอยรั่วธุรกิจ

    ธุรกิจขนาดเล็ก,ธุรกิจส่วนตัวเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็อยากจะมี โดยเฉพาะพนักงานประจำยิ่งแล้ว การโหยหาอิสระเสรีภาพทางการเงินชั่งมากมายนี่กะไร  แต่ถ้ามองกันตามความเป็นจริงแล้ว  “ธุรกิจขนาดเล็ก” ที่อยู่รอดและประสบความสำเร็จมีอยู่ไม่น้อย แต่ธุรกิจที่ล้มไม่เป็นท่าก็มีมากอยู่เช่นกัน แล้วจะทำอย่างไร…  
     นักธุรกิจรุ่นใหม่ถึงจะประคองกิจการให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง วันนี้เราจึงมี 8 กลเม็ดเด็ดพรายในการสกัดจุดรั่วทางธุรกิจ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างยาวนาน





Advertisements

1.เป้าหมายไม่ชัดเจน
คุณต้องมีจุดประสงค์และเป้าหมายในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจขนาดเล็ก หรือใหญ่ก็ตาม ว่าคุณต้องการจะทำอะไรกันแน่ กำหนดจุดยืน ทั้งของตัวเองและกลุ่มลูกค้าเอาไว้ ว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ขายให้ใคร ทำการตลาดที่ไหน ทั้งหมด คือ สิ่งที่คุณต้องคิดและทำตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ใช่วาดฝันลอยๆ แต่ไม่ลงมือทำ

2.ขาดการวางแผน
การวาดภาพยังต้องมีการร่างภาพไว้ก่อน เพื่อให้ภาพออกมาสวยตามรอยร่างที่กำหนดเอาไว้ การทำธุรกิจก็เช่นกัน ธุรกิจขนาดเล็กต้องมีเข็มทิศชีวิต ว่าจะทำอย่างไร มีแผนสำรองอะไรบ้างในการขับเคลื่อน เพราะถ้าคุณขาดการวางแผนที่แยบยลและรัดกุม เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาคุณจะมืดแปดด้าน ไม่รู้ทางออกเพราะไม่ได้เตรียมตัวเอาไว้ก่อน

3.กำหนดกรอบ
คุณต้องมีลำดับขั้นตอนในการทำธุรกิจขนาดเล็ก ว่าไทม์ไลน์ช่วงไหนต้องมีเป้าอย่างไร เช่น
1 ปีแรกในการทำธุรกิจต้องมีคนรู้จัก ช่วงเริ่มธุรกิจต้องอัด PR ประชาสัมพันธ์เยอะๆ ต้องลงโฆษณาในสื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโซเชียล เป็นต้น
มีสาขาแรก 2 ปีจากนี้ต้องขยายสาขา และต้องมีบริการส่งเดลิเวอร์รี่
ส่วนปีที่ 3 ต้องมีการพัฒนารสชาติของอาหารให้หลากหลาย โดยเฉพาะอาหารในเทศกาลต่างๆ ต้องสอดรับกับกระแส เป็นต้น

4.ขาดงบประมาณ
งบประมาณเป็นสายป่านสำคัญที่จะหล่อเลี้ยงธุรกิจขนาดเล็กให้ดำรงอยู่รอด เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากเรื่องของการวางแผนตั้งแต่ต้น ก่อนจะลงมือทำต้องคิดให้รอบคอบแล้วว่าเงินทุนก้อนแรกจะหามาจากไหน และทุนสำรองที่ใช้ในการต่อยอดธุรกิจจะได้จากใคร ถ้าคุณยังติดขัดกับปัญหาในข้อนี้
สถาบันการเงินต่างๆ ช่วยคุณได้ โครงการสินเชื่อ sme มีมากมายที่พร้อมให้การสนับสนุน เพียงแค่คุณศึกษาก่อนการลงทุนให้ดี เช็ครายละเอียดให้รอบคอบ แล้วหอบแผนธุรกิจเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ได้เลย

5.บุคลากรไม่มีศักยภาพพอ
การที่คุณจะประกอบกิจการใดๆ คุณต้องมีความรู้ในสิ่งที่ทำในระดับมากถึงมากที่สุด พนักงานที่คุณจ้างมาก็ต้องมีความรู้มากพอเช่นกัน จุดนี้ถือเป็นจุดอ่อนของหลายๆ กิจการที่ไม่สามารถสานต่อธุรกิจได้ เพราะพนักงานขาดความรู้ ส่วนนายจ้างก็ไม่เห็นความสำคัญของการเทรนด์ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถเข้ารับการอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้องได้ฟรีจากหน่วยงานต่างๆ ถ้านึกไม่ออกว่าจะไปอบรมที่ไหน ก็เสิร์ชคำว่า สัมมนาดีๆ แล้วเช็คดูเลยว่าที่ไหนมีอมรมเกี่ยวกับเรื่องที่คุณ “ควรจะรู้” บ้าง จากนั้นพาพนักงานของคุณไปด้วยสักคน  เพราะการทำธุรกิจขนาดเล็กคือการแข่งขัน ยิ่งรู้มากรู้ก่อนยิ่งคว้าตลาดได้เร็วกว่า

6.ไม่เข้าใจความต้องการของลูกค้า
สืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว ถ้าคุณไปสัมมนาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดเล็กของคุณ คุณไม่ต้องมานั่งวิเคราะห์ให้เมื่อย ว่าลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการอะไร และควรทำอะไรตอบสนอง คุณมีหน้าที่แค่รับแล้วใช้ไอเดียรังสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาเท่านั้น เพราะเจ้าหน้าที่ๆ จัดอบรมเขาจะเตรียมข้อมูลมาเผยแพร่ให้คุณฟังอยู่แล้ว เห็นมั้ยว่ายิ่งคุณเข้าสัมมนาเยอะเท่าไหร่ คุณยิ่งทุ่นแรงในการควานหาเข็มในมหาสมุทรไปเท่านั้น
โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐ ยิ่งมีสัมมนาดีๆ แถมยังมีเงินสนับสนุนอีกมาก แทนที่คุณจะลงทุนเองในการเปิดตลาดใหม่ๆ แต่คุณอาจได้เงินจากภาครัฐมาช่วยทดลองแถมยังหาตลาดให้อีกด้วย ทุนแรง ทุ่นเงิน ทุ่นสมองไปอีกมาก

7.ขาดการสื่อสาร
ธุรกิจขนาดเล็ก ,สถานประกอบการทุกแห่งจะต้องมีการสื่อสารจากภายในองค์กรให้เป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันเสียก่อน แล้วค่อยถ่ายทอดสิ่งดีๆ ไปแก่ลูกค้า พูดง่ายๆ ถ้าคุณสามารถซื้อใจพนักงานทุกคนให้รักและรู้จักองค์กรเป็นอย่างดี ทำไมพนักงานเหล่านั้นจะไม่ทำสิ่งดีๆ ให้แก่ลูกค้า แล้วผลตอบรับที่ดีจะตกอยู่ที่ใคร ในทางกลับกัน สมมุติว่าลูกค้ามาซื้อไก่ทอดที่ร้านคุณ เมื่อลูกค้าถามพนักงานว่าวันนี้มีโปรโมชั่นอะไรบ้าง แต่พนักงานกลับชักสีหน้าแล้วบอกว่า ไม่รู้สิ ไม่ใช่คนขาย เป็นแค่คนส่งของ ให้ไปถามพนักงานคนอื่นสิ แบบนี้คุณก็เสียลูกค้าไปแล้วอีกราย

8.ให้รางวัลตอบแทน
คุณเคยได้ยินคำนี้ไหม “ทำดีเสมอตัว ทำชั่วโดนด่า” เรื่องนี้เป็นปัญหาใหม่ที่ทำให้พนักงานบริษัทหลายคนอยากกระโจนออกจากระบบ อาจจะรวมถึงคุณด้วยที่เคยประสบมาก่อน คงไม่มีใครที่ทำดีแล้วไม่ต้องการคำชื่นชม ไม่ต้องถึงกับเปิดแชมเปญฉลองก็ได้ เพียงแค่กล่าวคำ “ขอบคุณ” ชื่นชมเล็กๆ เป็นน้ำใจที่ประพรมให้พนักงานมีกำลังใจทำดีต่อไป อย่ากดพนักงานด้วยการเมินเฉย คนทุกคนต้องการฟังคำรื่นหูด้วยกันทั้งนั้น





Advertisements

    ถ้าวันนี้เขาทำยอดถึงเป้าแล้วคุณชื่นชม ให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ ตอบแทน แล้วทำไมวันพรุ่งนี้เขาจะไม่ทำยอดให้ทะลุเป้าอีกครั้ง แล้วผลประโยชน์มันจะตกอยู่ที่ใคร โอกาสที่บริษัทอยู่รอดก็ง่ายจิ๊บๆ แต่ถ้าเมินเฉยนี่สิ คุณอาจเสียคนเก่งในบริษัทไป แล้วปัญหาข้อ 5 ก็เกิดขึ้น แล้วปัญหาข้ออื่นๆ ก็ตามมา วนลูปสู่จุดจบ

เขียนโดย Eskinomiz
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com

copyright

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.