[เปิดแผนธุรกิจ] ลูกชิ้นทอด 100 ล้าน จากธุรกิจครอบครัว สู่การเปิด 600 สาขา ใน 6 ปี

ข้อกำหนดของการเลือกแฟรนไชส์ที่ดี คนขายแฟรนไชส์รอด VS คนซื้อแฟรนไชส์รอด

ข้อกำหนดของการเลือกแฟรนไชส์ที่ดี คนขายแฟรนไชส์รอด vs คนซื้อแฟรนไชส์รอด

       1. แฟรนไชส์ที่ดี ต้องมีรูปแบบธุรกิจที่แน่นอนให้เราศึกษาก่อนซื้อเสมอ นั่นเพราะเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องศึกษาและวางแผนธุรกิจของตัวเองอย่างละเอียดแล้ว จึงค่อยนำมาขายแฟรนไชส์ ลดความเสี่ยงของผู้ซื้อแฟรนไชส์ไป

แฟรนไชส์ไหนไม่มีแผนธุรกิจ ไม่เคยประเมินธุรกิจตัวเอง แค่มโนไปว่ามันต้องรอดแน่ๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็ต้องคิดได้บ้างแล้วว่า ธุรกิจตัวเองยังไม่มีแผนแล้วถ้าซื้อไปใครจะรอด

คนขายแฟรนไชส์รอด vs คนซื้อแฟรนไชส์รอด vs รอดทั้งคู่





Advertisements

แล้วสรุปแผนธุรกิจมาเป็นรายงานที่อ่านง่ายๆ ไม่มีลับลมคมในแอบแฝง ไม่มั่วตัวเลขเวอร์ๆ ให้ผู้สนใจแฟรนไชส์ได้อ่าน ได้คิดด้วยตัวเองถึง

ความเป็นไปได้ในการทำกำไร ความเป็นไปได้ว่าจะไม่เจ๊ง

แผนธุรกิจง่าย ๆ เช่น ขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสมเหตุผล คุณสมบัติทำเลที่ตั้ง ตลอดจนถึงการคำนวณผลตอบแทน จุดคุ้มทุนและผลกำไรที่ต้องทำได้และควรทำได้

ไม่ใช่แค่เพียงขายวัตถุดิบแล้วปล่อยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์บริหารไปตามมีตามเกิด เจ๊งก็ช่าง ไม่เจ๊งก็ช่าง

ตัวอย่างเช่น ลูกชิ้นจัง ลูกชิ้นทอด 100 ล้าน กับแผนธุรกิจอันยอดเยี่ยม 600 สาขาใน 6 ปี

http://www.ทําเลขายของ.com/?p=20147

ลูกชิ้นจัง

 

       2. แฟรนไชส์ที่ดี ต้องมีมาตรฐานการทำงานเดียวกันทั้งหมด หมายความว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีหน้าที่เพียง หาทำเลเหมาะๆ คอยดูแลบริหารเท่านั้น

ส่วนอื่นๆ เช่น ขั้นตอนการทำงาน ขั้นตอนการเก็บรักษา ขั้นตอนการผลิตทุกอย่าง รวมถึงแพคเกจจิ้ง การจัด theme ร้าน เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องมีแบบงานมาให้ทั้งหมดแล้ว

เราเสียเงินก็เพื่อสิ่งนี้ ถ้าให้เราคิดสร้างใหม่ด้วยล่ะก็ ทำเองขายเองเถอะ

 

       3. แฟรนไชส์ที่ดี ต้องมีอัตราการปิดตัวน้อย สิ่งที่บ่งบอกได้ถึงความเป็นไปได้ว่าซื้อแฟรนไชส์แล้วจะไม่เจ๊ง นั่นคือการดูอัตราการปิดตัวของสาขาแฟรนไชส์

แต่มันคงไม่ง่ายนักที่จะรู้ เพราะถึงถามไปก็คงไม่มีใครบอกความจริง (ถ้าปิดสาขาบ่อยๆ นะ)

จึงต้องใช้การสังเกตุด้วยตัวเอง โดยการหาสาขาที่เปิดอยู่หลายๆ ที่ แล้วไปสังเกตการณ์ ประเมินด้วยตัวเอง

หน้าที่คนขายแฟรนไชส์คือพัฒนาธุรกิจให้ได้เปรียบคู่แข่ง หน้าที่คนซื้อแฟรนไชส์คือประเมินแฟรนไชส์ อย่าสักแต่ซื้อแฟรนไชส์มั่ว ไม่งั้นคงรวยกันทั่วบ้านทั่วเมืองแล้ว

 

       4. แฟรนไชส์ที่ดี ต้องซัพพอร์ทผู้ซื้อแฟรนไชส์เมื่อเจอปัญหา ทำไมถึงบอกว่าต้องซัพพอร์ทผู้ซื้อเมื่อเจอปัญหา

นั่นเพราะถ้าผู้ขายแฟรนไชส์ทำข้อ 1 มาแล้ว คือศึกษาแผนธุรกิจ สินค้าของตัวเองจนทะลุปรุโปร่งแล้ว

ย่อมต้องรู้ถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และวางหนทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไว้ (พื้นฐานการทำธุรกิจ) รวมไปถึงปัญหาเฉพาะหน้าที่ไม่ได้อยู่ในแผน

ซื้อแฟรนไชส์แล้วเจอปัญหา ปรึกษาเจ้าของแฟรนไชส์ก่อนได้เลย เพราะผู้ผลิตย่อมต้องรู้สินค้าดีมากกว่าใครทั้งหมด เจ้าของแฟรนไชส์คนไหนทำไม่ได้ก็ตัวใครตัวมันล่ะทีนี้

ตัวอย่างเช่น April’s Bakery แฟรนไชส์ขาแรงสร้างยอดขายทะลุ 100 ล้านต่อปีไปเรียบร้อย April’s Bakery จะมีการสำรวจยอดขายของแต่ละสาขา หากสาขาไหนยอดขายต่ำ จะมีทีมงานติดต่อเข้ามาดูแลว่าปัญหาเกิดจากกอะไร จะปรับตัวอย่างไร

http://www.ทําเลขายของ.com/?p=17301

April's Bakery

 

5. แฟรนไชส์ที่ดี ต้องมีการทำสัญญาอย่างชัดเจน การทำสัญญาเป็นรูปแบบที่ยุติธรรมในระดับหนึ่ง ทั้งกับเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์ และยังเป็นการบ่งบอกถึงความใส่ใจของ เจ้าของแฟรนไชส์ที่ต้องการผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่สนใจอยากทำธุรกิจจริงๆ เพราะหากเห็นแก่เงิน รับใครก็ได้มาซื้อแฟรนไชส์ อาจเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของแบรนด์อย่างรุนแรง

ซื้อแฟรนไชส์ไป => ไม่ตั้งใจทำจริงจัง => คุณภาพสินค้าลด => ลูกค้าหาย => แบรนด์เสีย => ปิดสาขาบ่อย => เจ้าของแฟรนไชส์มีแต่เสียกับเสีย

ตรงกันข้ามในมุมของผู้ซื้อแฟรนไชส์

ซื้อแฟรนไชส์ไป => เจ้าของแฟรนไชส์มีปัญหา => เรามีสัญญา => เราไม่ผิด => ฟ้องร้องชนะ

ที่สำคัญควรอ่านข้อตกลงในสัญญาอย่างละเอียด ไม่เข้าใจตรงไหนก็ถามไปเลย ระวังสัญญาที่ตีความหมายกำกวม มัวแต่เงียบระวังโดนสัญญาเอาเปรียบแล้วจะน้ำตาตกทีหลัง

ตัวอย่างความสำคัญของการมีสัญญาแฟรนไชส์ จากคุณเฝ้าฝัน @pantip http://pantip.com/topic/31050975

สัญญาแฟรนไชส์

อย่าคิดว่าการซื้อแฟรนไชส์เป็นเรื่องง่ายๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ก็มีสิ่งที่ต้องคิดก่อนซื้อ ไม่ใช่แค่คิดว่าน่าสนใจแล้วก็ซื้อ ต้องประเมินแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ ถ้ามีโอกาสทำกำไรได้แล้วค่อยซื้อ แต่ถ้าใครเงินเยอะ เวลาเยอะ ซื้อแฟรนไชส์ทิ้งๆ ขว้างๆ ได้ล่ะก็ ซื้อไปได้เลยไม่ต้องคิดมาก แต่ถ้าใครไม่อยากเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา เสียความรู้สึก คิดก่อนซื้อทุกครั้งนะ ด้วยความหวังดี

อย่าลืมทุกครั้งว่า ผู้ขายแฟรนไชส์ ก็เป็นคนทำธุรกิจ ต้องกินต้องใช้ ไม่มีใครทำแฟรนไชส์เอาบุญกุศลแน่นอน





Advertisements

เขียนโดย เซน ผู้เหลือรอดคนสุดท้าย
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com

Leave a comment

E-mail ของคุณจะไม่แสดงขึ้นมาก.


*

กรอกเป็นตัวเลข * Time limit is exhausted. Please reload the CAPTCHA.