[9 สิ่งที่ควรมี] ซื้อแฟรนไชส์ อย่างไร ให้เหลือเดือนละ 10,000 ++up
[9 สิ่งที่ควรมี] ซื้อแฟรนไชส์ อย่างไร ให้เหลือเดือนละ 10,000 ++up
Advertisements
อันที่จริงรายได้ เดือนละ 10,000 ขึ้น…สมัยนี้ ดูไม่เยอะอะไรมากมาย บ้างทีอาจไม่พอค่าใช้จ่ายดด้วยซ้ำ แต่สำหรับการเริ่มต้นขายของ ของคนที่พึ่งเริ่มจะหัดไปขายของ มันเป็นอะไรที่ใหม่ และดูยากเหมือนกัน การซื้อแฟรนไชส์ จึงเป็นสูตรสำเร็จที่ไม่ต้องไปนับหนึ่งเอง
แต่…สมัยนี้ แฟรนไชส์ เกิดขึ้นเยอะ บ้างแฟรนไชส์วาดภาพออกมาดูดี กำไรเท่าโน้น คืนทุนไม่กี่เดือน แต่เมื่อซื้อไปแล้วกลับไม่เป็นอย่างที่คิด ครั้นจะกลับตัวก็ยากเต็มที
วันนี้….เลยจะมาเขียน 9 สิ่งที่ควรมี สำหรับแฟรนไชส์ที่จะซื้อ และทำให้รายได้ให้เหลืออย่างน้อยเดือนละ 10,000 บาท นั่นหมายความว่า เราต้องมีเงินเหลือสุทธิจากการขายวันละ 333 บาท เป็นอย่างน้อย
รายได้(ที่ต้องหาให้ได้) 10,000 บาท/เดือน
ตกวันละ 333 บาท/วัน
9 สิ่งที่ควรมี สำหรับแฟรนไชส์ที่จะซื้อ แล้วมีรายได้เดือนละ 10,000++ up
1.) แฟรนไชส์ ต้องมีจรรยาบรรณ
การซื้อแฟรนไชส์ สำคัญ คือ เรื่องคุณธรรม จรรยาบรรณในการทำธุรกิจ เพราะนี่เป็นสิ่งแรกที่จะบอกได้ว่า เราควรซื้อแฟรนไชส์ เขาหรือไม่ “แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรหละ”
ก็ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการเปิดสาขา เขาให้เปิดสาขาแบบไหน เปิดแบบไม่กำหนดระยะ ทับเขตได้ ไม่บอกระยะห่างที่ชัดเจน แบบนี้ ก็หมายถึง เจ้าของแฟรนไชส์จะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว แบบนี้จะซื้อไปทำไม
หรือ…หนังสือสัญญา ควรให้เรานำมาศึกษาก่อน ข้อได้เปรียบ-ข้อเสียเปรียบ และไม่ควรมีเพิ่มเติมเมื่อมาเซนต์สัญญา หากไม่ชัดเจน มันก็บ่งบอกถึงสัญญาณไม่ดีตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว
2.) คำนวณเสมือน
ปกติ.. แฟรนไชส์ ที่ดี จะต้องคำนวณต้นทุนไว้ทั้งหมดอยู่แล้ว ให้รู้ว่า “กำไรต่อหน่วย” คือเท่าไหร่ ต้องขายเท่าไหร่ ถึงเหลือเท่าไหร่ มาทดลองคำนวณเลยดีกว่า
ยกตัวอย่าง แฟรนไชส์ หมูปิ้ง 10 บาท
จะแบ่งเป็น การลงทุนครั้งแรก และ ลงทุนในแต่ละวัน
ค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน
– หมู ทุน 6.5 บาท/ไม้
– ถ่านถุงละ 20 บาท
– ถุงใส่ 20 บาท
– ค่าที่ 200 บาท
– ค่าแรงงาน 300 บาท
– ค่าเดินทาง 100 บาท
ต้องการเงินเหลือเก็บ 333 บาท/วัน ต้องขายให้ได้กี่ไม้
ฉะนั้น ยอดเงินที่ต้องการคือ (เงินเหลือเก็บ 333 บาท/วัน )(ค่าแรงงาน 300 บาท)(ค่าที่ 200 บาท)(ถุงใส่ 20 บาท)(ถ่านถุงละ 20 บาท)(ค่าเดินทาง 100 บาท) รวมเป็นเงิน 973 บาท
หมู ทุน 6.5 บาท/ไม้ ขายไม้ละ 10 บาท
เท่ากับมี กำไร 3.5 บาท/ไม้
ดังนั้น เราต้องการเงิน 973 บาท
เราต้องขายหมูให้ได้กี่ไม้ = 973 บาท หาร กำไร 3.5 บาท/ไม้
เท่ากับ 278 ไม้
3.) วิเคราะห์ ความเป็นจริง
คำถามต่อมา…
ขายให้ได้ 278 ไม้ / วัน เป็นไปได้ไหม…
สิ่งที่…ควรวิเคราะห์ คือ วิเคราะห์จากทำเลก่อนเป็นอันดับแรก ว่ามีคนผ่านมากน้อยแค่ไหน ควรมีคนผ่านกี่คน และเป็นกลุ่มเป้าหมายของเราหรือไม่
หมูปิ้ง โดยปกติ เป็นอาหารเช้า กลุ่มลูกค้า อาจเป็น นักเรียน,นักศึกษา,หรือ คนทำงาน ที่มีเวลาน้อย ซื้อไปรับประทานบนรถ , หรือที่ทำงาน ซื้อไม่ทุกวัน ตีซักอาทิตย์ละครั้ง คนหนึ่งซื้อโดยเฉลี่ย 4 ไม้ ข้าวเหนียว 1 ห่อ
Advertisements
ตัวแปร ตั้งต้น
– กลุ่มลูกค้า นักเรียน,นักศึกษา,หรือ คนทำงาน
– ซื้อ อาทิตย์ ละครั้ง
– กินเฉลี่ย 4 ไม้/คน
– คนเดินผ่าน 100 คน จะซื้อโดยประมาณ 100/7 เท่ากับ 14.28 คน (คิดที่ 15 คน)
มาแปลกัน…
โจทย์ หากต้องการขายให้ได้ 278 ไม้ เพื่อให้เหลือ เงิน 10,000 บาท ต้องหาทำเลที่มีคนเดินผ่านเท่าไหร่
ตอบ 278 หาร 4 หาร 15 คูณ 100 เท่ากับ 464 คน
มาคิดต่ออีกครับ…
ในความเป็นจริงอาจขายแค่เวลา 06:00 – 08:30 น. เท่านั้น เวลา 2 ชั่งโมง ครึ่งเท่านั้น
เท่ากับ ต้องมีคนเดิน นาทีละ 3 คน (464คน/150นาที)
แปลว่า…คุณต้องหาทำเล ในช่วงเวลาดังกล่าว ที่มีคนเดินผ่าน นาทีละ 3 คน
ถึงจะมีโอกาส ขายแล้วเหลือเงินเดือนละ 10,000 บาท
เห็นไหมครับ แค่คำนวณก็ทำให้ต้องหาทำเล ที่เป็นแบบที่ต้องการให้ได้ก่อน ถึงจะมีโอกาสเหลือรายได้แบบที่เราต้องการ
4.) โฆษณา
การโฆษณา ก็สำคัญเหมือนกัน ในความหมายที่ว่า เจ้าของแฟรนไชส์ เขามีแผนโฆษณาอย่างไรบ้าง เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราขายได้มากขึ้น อันเกิดมาจากการรับรู้แบรนด์สินค้า เมื่อลูกค้าได้รับสื่อบ่อยๆ ก็ทำให้เกิดการอยากซื้อ แน่นอน…นั่นจะทำให้เราขายได้
กลับกัน….หากไม่มีโฆษณาใดๆ จากเจ้าของแฟรนไชส์เลย เราต้องไปเผฉิญชะตากรรมอยู่ตามลำพังแน่นอน ไหนจะขาย… ไหนจะต้องมาคอยพรีเซ้นต์ ซึ่งไม่ใช่แบรนด์ของเราด้วยซ้ำ แค่คิดก็ยากแล้ว
5.) พัฒนา
การคิดค้น…เป็นอีกสิ่งที่ต้องมี ต้องเลือกดูแฟรนไชส์ ที่เขามีการพัฒนาตัวเอง มีการคิดค้นเมนูใหม่ๆ รายการใหม่ๆ มีแผนการตลาดใหม่ๆ ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ เพราะไม่เช่นแล้ว ธุรกิจที่เราซื้อมาจะย่ำอยู่กับที่ คนอื่นเขาพัฒนา แต่เรากับถอยหลัง ซักวันก็ต้องเจ๊งแน่นอน…
6.) ระบบ
การสร้างระบบ แฟรนไชส์ นั้น เขาต้องสร้างระบบการขายให้เรา สามารถขายได้ด้วยพนักงาน มีการรีเช็คสต๊อค เช็คบริการของพนักงาน การอบรมพนักงาน การตรวจสอบผลตอบรับของลูกค้า
ดู….จะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าแฟรนไชส์ที่ทำมานาน เขาต้องมีระบบอยู่แล้ว เมื่อเราซื้อแฟรนไชส์เขา ก็เหมือนการที่เราซื้อ โนฮาว ของเขา ถ้าโนฮาวดี ระบบดี เราก็ขยายสาขาได้ง่าย ตรวจสอบได้ง่าย
7.) ช่วยเหลือ
เมื่อซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว หากเกิดปัญหา มีการช่วยเหลืออย่างเต็มที ฉับไวหรือไม่ เช่น การเคลมของเสียที่มีปัญหา , ทำการตลาดเฉพาะที่ขาย , วิเคราะห์การขาย , ประเมินประสิทธิภาพของร้านทุกเดือน เป็นต้น
8.) ไม่มีค่ารายปี ไม่มีค่าธรรมเนียม
แฟรนไชส์โดยส่วนใหญ่ จะมีเก็บค่าธรรมเนียม-ค่าแฟรนไชส์ ตั้งแต่มาก-ไปหาน้อย หรือบ้างแฟรนไชส์ก็ไม่ได้เก็บเลยก็มี อันนี้ต้องพิจารณาความคุ้มค่า ถ้าไม่เก็บเลย ก็จะเป็นประโยชน์กับเรา แต่ถ้าเก็บก็ต้องดูว่า… เราได้รับสิ่งตอบแทนอื่นๆ ที่เขาจะให้คุ้มค่าหรือเปล่า
9.) บัญชี
แฟรนไชส์ที่จะซื้อ มีการสอนหลักการทำบัญชีกำไร-ขาดทุนหรือไม่ บอกตัวเลขต้นทุน ทุกอย่างที่ชัดเจนเป็นจริงหรือเปล่า เราลองเอามาพิจารณาอีกที ตัวเลขต่างๆ จะช่วยให้เรา พอทราบคราวๆ ว่า… “ธุรกิจจะมีกำไรหรือไม่” ดังตัวอย่างข้อ2 ที่กล่าวมาข้างต้น
เห็นไหมครับ… การซื้อแฟรนไชส์ แล้วต้องการให้มีเงินเหลือ 10,000 ขึ้นไป เป็นไปได้ แต่สำคัญ….ต้องละเอียด คิดการให้รอบครอบ โดยเฉพาะการทำกระแสเงินสดล่วงหน้า คำนวณระบบเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สิ่งนี้…จะช่วยในการตัดสินใจ ได้ว่า…จะซื้อแฟรนไชส์ไหนดี คุ้มค่าที่จะลงทุนหรือเปล่า..
หาก…ทำได้ตามที่กล่าวมาแล้ว ก็เชื่อได้ว่า.. “จะทำให้เหลือเงิน 10,000 บาท โดยไม่ยากอะไรเลย”
…………………………………………………..
เขียนโดย เชื่องช้าแต่หนักแน่น
ลิขสิทธิ์โดย ทำเลขายของ.com
ไม่อนุญาต “คัดลอก” รวมถึงในกรณี ที่จะใส่ลิ้งค์กลับ ก็ไม่อนุญาต เช่นกันนะครับ
อนุญาตให้ “แชร์” ได้ครับ
ขอบคุณครับ
รวมแฟรนไชส์ กว่า 800 แฟรนไชส์ >>>แฟรนไชส์<<<
Leave a comment