ตลาดนัดวัดทุ่งครุ ตลาดนัดเช้าเสาร์อาทิตย์
ตลาดนัดวัดทุ่งครุ เป็นตลาดนัดที่ขายกันตั้งแต่เช้ามืดจนไปถึงประมาณสิบโมงก็เริ่มวายแล้ว เป็นตลาดนัดเช้า ที่จัดกันในเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์เท่านั้น ตัวตลาดจะจัดกันแบบกระจายตัวตามพื้นที่ด้านหน้าและด้านข้างของลานจอดรถของวัดทุ่งครุ โดยพื้นที่วัดมีเนื้อที่ถึง 20ไร่ เป็นวัดเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ(ใครสนใจอ่านต่อด้านล่างสุดครับ)
บรรยากาศของตลาดเช้าที่วัดทุ่งครุ
Advertisements
ตลาดนัดวัดทุ่งครุ จะจัดกันแบบตลาดนัดสไตล์บ้านๆ เดิมๆแบบที่เราเคยเห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ มีร้านค้าทั้งอาหาร,ร้านขายเสื้อผ้า,ร้านขายเครื่องสำอางค์,ร้านขายเครื่องมือช่าง,ร้านขายต้นไม้,ร้านของสดผักผลไม้ เป็นแหล่งอาหารในวันหยุดของคนบริเวณนี้ โดยร้านที่เป็นจำพวกขายของกินทั้งหลายจะอยู่ด้านหน้าๆ ไล่เรียงกันยาวตลอดแนว และเมื่อเดินเข้าไปเลยๆ ก็จะเจอร้านเครื่องสำอางค์,ร้านขายเครื่องประดับ สลับๆกันไป ด้านรอบก็จะมีร้านกระจายตามพื้นที่ว่าง ตรงไหนที่จะพอลงขายได้ก็จะมีร้านตั้งอยู่ให้เห็นพอสมควร
จากที่ ทำเลขายของ.com ได้มีโอกาสผ่านไปตลาดนัดวัดทุ่งครุ พอดีเป็นวันพระจึงมีคนมามาก ทั้งที่่จะมาทำบุญใส่บาตร และคนที่เขามาจ่ายตลาดตอนเช้าในวันหยุด จึงได้เก็บภาพบรรยากาศวิถีชีวิตของคนไทยที่ชอบมาทำบุญมาฝากเพื่อนด้วย กลับมาที่บรรกาศของตลาดนัดวัดทุ่งครุกันต่อ เป็นตลาดที่มีคนมีซื้อของจ่ายตลาดกันมาก จัดว่าคนเยอะใช้ได้ สินค้าจะเป็นแบบทั้งราคาถูกสมเหตุกับตัวสินค้า และก็มีสินค้าที่มีคุณภาพดีราคาไม่แพงก็มีให้เห็นเหมือนกัน โดยร้านขายอาหารน่ามีพื้นที่ล็อคประมาณ 80-100ล็อคเห็นจะได้ ร้านค้าประเภทอื่นๆน่าจะมีประมาณ 40-50ล็อค จากการที่ได้สอบถามจากพ่อค้าแม่ค้าเท่านั้นว่า เช่าที่ในราคาเท่าไหร่กันบ้าง พอได้คำตอบมาว่าอยู่ประมาณ_20บาท,50บาท,70บาท ต่อล็อคต่อวัน
การเช่าล็อคของตลาดนัดวัดทุ่งครุ จากการที่ได้ลงพื้นที่สอบถาม พอได้ข้อมูลว่าจะมีคนมาเก็บค่าล็อคประมาณเจ็ดโมงเช้า ควรไปหาที่ลงก่อนตลาดเริ่มเปิด ถามเขาว่า ตรงไหนพอลงได้บ้าง ก็จัดได้เลย(ถามๆเขาดูก่อนน่ะเผื่อมีคนขายประจำอยู่) แต่น่าจะหาพื้นที่ลงได้ไม่ยาก เพราะยังเห็นที่ว่าง ตลาดนี้มีที่จอดรถอยู่ประมาณ_80คัน แต่ตอนสายๆหน่อยรถจะแน่นมาก เพื่อนคนไหนที่คิดว่าจะไปลองขาย ก็ลองไปสำรวจดูก่อนน่ะครับ ไปเช้าหน่อยๆจะได้หาที่จอดรถได้ แวะไปไหว้หลวงพ่อไกสรด้วยจะได้เป็นศิริมงคลก่อนเริ่มทำการค้า จะได้ประสบความสำเร็จทุกๆด้าน เอาฤกษ์เอาชัยซักก่อนเลย.
ร้านขายทุกอย่างยี่สิบ…
ส่องพระก็มีด้วย…
วันนี้เป็นวันพระก็เลยใส่บาตรกันเยอะเลย..
ใส่บาตร…สาธุ
วิถีชาวพุทธ…เผื่อสืบสานศาสนา
ทำบุญใส่บาตรยามเช้าที่วัดทุ่งครุ
ร้านขายโจ๊กยามเช้า
เคสโทรศัพท์ก็มา..
ของเล่นก็มีคนสนใจดูเหมือนกัน…
เป็ดพะโล้น่ากินมากๆ..
เดินมาอีกนิสเจอแผงขายผลไม้
เดินมาซอยด้านข้าง คนเยอะเหมือนกัน
เดินแวกคนมาอีกหน่อย… ซื้อกันเต็มมือเลย
ปาโก๋..
รออยู่น่ะ..ทอดได้ยัง
มีปลาหมึกสดมาขายด้วย ร้านนี้มีมาขายแค่กล่องโฟมกับกิโลก็ตั้งขายได้แล้ว
ต้นไม้ก็มี
โต๊ะเล็กๆ..ก็ตั้งขายได้สบาย..
เป็นล็อคเลย..โชว์ได้สวยงาม
เดินมาอีกหน่อย เจอตั้งเป็นราว..ขายเสื้อได้หล่ะ
เครื่องมือช่างก็มีเห็นเหมือนกัน…ราคาไม่แพง adminจัดไขควงไปหนึ่งอัน 35บาท.
เดินวนรอบตีกลับไปด้านท้ายตลาดเจออีกร้าน คนเขาซื้ออะไรซักอย่างไม่ทันดู เพราะเวลาจำกัดมากวันนั้น
แดดเริ่มออกมากล่ะ…
เดินย้อนขึ้นไปอีกฝั่งของตลาด
แม่ลูก..
รอบนอกก็มีคนเดินดูสินค้าเหมือนกัน
เดินมาเจอร้านนี้ต้องหยุดดูเลย..ขายอะไรน่ะ
คนยืนซื้อกันจนหมดเกลี้ยงแล้ว..อ๋อเขากำลังรอกะทะต่อไป
แกงลูกชิ้นปลากรายน่ากินมากๆ…อยากจะซื้อกลับบ้าน แต่คนรอหลายคิวเลย ไม่ไหวเวลาจำกัด
สตอเบอรี่กับเชอรี่…20
เดินมาเจอวิหารหลวงพ่อไกรสร เข้าไปไหว้ดีกว่า..
ท่าทางคนมาเยอะ…สงสัยหลวงพ่อศักสิทธิ์
บันไดทางขึ้น…
เอ้า…เจอเจ้าน้ำตาล ลายสวย…รอตอนรับ
โอ้…หลวงพ่อไกรสร ดูเก่า..องค์สวยมาก คนมาไหว้กันเยอะเลย
คุณลงคุณป้ามาไหว้กันเยอะเลย…
บ้างก็มาเติมน้ำมันตะเกียง..
ด้านในวิหาร เจ้าสีเทา…ลายสวยไม่แพ้เจ้าน้ำตาล นอนหลับสบายมาก ถ้าแอดเหมียวเห็น..ร้องเอากลับบ้านแน่..
เดินมาด้านหลัง เจอหอระฆังสวยมาก..เลยจัดมาซักภาพ
ประตูทางออกวัดทุ่งครุ
ตลาดนัดวัดทุ่งครุ ตั้งอยู่ในวัดทุ่งครุซึ่งเป็นวัดที่น่าสนใจและมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน เลยเก็บประวัติมาฝากเพื่อนด้วยครับ
ประวัติวัดทุ่งครุ
-ตั้งอยู่เลขที่ 9 หมู่ที่ 5 ซอยประชาอุทิศ 84 ถนนประชาอุทิศ แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
-มีเนื้อที่ทั้งหมด 20ไร่ 2งาน 12ตารางวา
-ได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2451
-โดยมีนายผาด นางละมัย พึ่งสาย เป็นผู้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างวัด จำนวน 12ไร่ 2งาน
ในปีพ.ศ.2458 นายเปลี่ยน นางเปลี่ยน และพี่น้องชาวทุ่งครุ ได้ร่วมกันดำเนินก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้น 1หลัง และในปีเดียวกันนี้เอง ทางคณะกรรมการของวัดทุ่งครุ เห็นว่าทางวัดทุ่งครุนั้นยังไม่มีอุโบสถสำหรับประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา จึงได้ร่วมกันก่อสร้างอุโบสถไม้ขึ้นอีก 1หลัง และได้มีการหล่อพระประธานประจำอุโบสถขึ้น 1องค์ มีชื่อว่า หลวงพ่อไกรสร
ในปีพ.ศ.2500 นายผล,นางบาง,บุญสม,นายลา,นางละมัย ได้ร่วมกันบริจาคที่ดินจำนวน 1ไร่ เพื่อเป็นที่ก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งเป็นไม้และได้ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ซึ่งในการดำเนินก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ ได้รับพระราชทานวิสุงคามเสมา กว้าง 40เมตร ยาว 80เมตร
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2506 ซึ่งในพิธีวางศิลาฤกษ์นั้น ได้มีนายหรุ่น ปานสง่า,นายโหมด กดพุ่ม ร่วมกันเป็น
ประธานฝ่ายฆราวาส ซึ่งมีพระอธิการฟื้น อัคควุฑโฒ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
สำหรับทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น ก็ได้รับแรงศรัทธาจากประชาชนชาวทุ่งครุและบริเวณใกล้เคียงได้ร่วมกัน
บริจาค เนื่องจากอุโบสถหลังใหม่นี้ได้ทำจากคอนกรีตเสริมเหล็กมาตรฐาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์ในการก่อสร้าง
เป็นจำนวนมาก ดังนั้นการดำเนินการก่อสร้างจึงได้มีการดำเนินไปอย่างช้าๆ
Advertisements
ในปีพ.ศ.2516 ขณะที่การดำเนินก่อสร้างกำลังเป็นไปได้ด้วยดีนั้น การดำเนินการก่อสร้างก็ต้องหยุดชะงักลง เมื่อพระอธิการฟื้น อัคควุฑโฒ ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้นต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่พระครูวิจารณ์ ถาวรกิจ ก็ได้มรณภาพลง
ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ.2518 พระครูพิพิธพัฒโนดม หรือหลวงพ่อเจริญ ฐิตสีโล ได้เข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสที่ว่างลง และได้ดำเนินการก่อสร้างจนพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อย
เมื่อวันจันทร์ที่31กรกฏาคม พ.ศ.2521 วัดทุ่งครุก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารรี เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ ซึ่งนับได้ว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่วัดทุ่งครุและประชาชนชาวทุ่งครุเป็นอย่างยิ่ง
วัดทุ่งครุตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นได้มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งติดต่อกันมาแล้วถึง 10 รูปด้วยกัน ซึ่งมีรายนามดังต่อไปนี้
รูปที่1 พระอธิการผลัด ดำรงตำแหน่ง 3ปี
รูปที่2 พระอธิการเชย ดำรงตำแหน่ง 3ปี
รูปที่3 พระอธิการขอม ดำรงตำแหน่ง 8ปี
รูปที่4 พระอธิการเปลี่ยน ดำรงตำแหน่ง 7ปี
รูปที่5 พระอธิการชม ดำรงตำแหน่ง 5ปี
รูปที่6 พระอธิการยม ดำรงตำแหน่ง 5ปี
รูปที่7 พระอธิการปั่น ดำรงตำแหน่ง 8ปี
รูปที่8 พระครูวิจารณ์ถาวรกิจ ดำรงตำแหน่ง 17ปี
รูปที่9 พระครูพิพิธพัฒโนดม หรือพระอาจารย์เจริญ ฐิตสีโล ดำรงตำแหน่ง 11ปี
รูปที่10 พระครูสุนทรจารุวรรณ ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 จนถึงปัจจุบัน
Leave a comment