10 เรื่องที่ควรรู้ก่อน… เช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า
การเช่าพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าเป็นความต้องการของคนทำธุรกิจกันทุกคน ด้วยความที่ห้างสรรพสินค้า ดังๆส่วนใหญ่จะเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์ (Brand Image Building) ทั้งตัวร้านและตัวสินค้ าให้ดูมีระดับอย่างเท่าวีคูณ
แต่การจะเข้าไปขายสินค้าในห้างสรรพค้านั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก อุปสรรค,ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รออย่างข้างหน้า ที่ผู้ประกอบการอาจไม่ขาดคิด หากจะเป็นการดีที่ผู้ประกอบควรศึกษาแนวทาง,ทำการวางแผนธุรกิจ,หาทางหนีทีไล่(PLAN B) และเรียนรู้เรื่องต่างๆ ดังต่อนี้
1.) มาทำความรู้กับความหมายของห้างสรรพสินค้า(Department store)
ก็อย่างที่ผู้เก่งกาจเชี่ยวชาญในการศึกได้กล่าวไว้ว่า “รู้เขารู้เรา…รบร้อยครั้งชนะร้อยครัง” ฉะนั้นเราจะต้องรู้ซักก่อนว่าห้างสรรพสินค้า คืออะไร ในความหมายตรงตัวเลยของห้างสรระสินค้านั้นก็คือ “ร้านขายสินค้าขนาดใหญ่”
ที่รับเอาสินค้าต่างๆจากหลายผู้ผลิตและหลายแบรนด์สินค้า มารวมขายอยู่ในสถานที่เดียวกัน โดยจัดหมวดหมู่แยกเป็นแผนกสินค้ากันอย่างชัดเจน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างไว้คอยบริการลูกค้า
ซึ่งในสมัยแรกที่เกิดห้างสรรพสินค้า ผู้คนส่วนใหญ่ต่างตื่นเต้นกับร้านค้าขนาดใหญ่นี้ ที่มีบันไดเลื่อนและติดแอร์ทั้งอาคารสร้างความสุข ให้กับผู้ที่มาเดินช้อปิ้งกันอย่างมาก แต่ในระยะหลังต่อมานั้น ห้างสรรพสินค้าได้มีการเพิ่มพื้นที่เช่าในส่วนต่างๆให้แก่การผู้ประกอบการภายนอกมากขึ้น
ให้เข้ามาเปิดร้านค้าขายสินค้าเอง ซึ่งนั้นในการเกิดสาขาใหม่ๆของห้างสรรพสินค้า จะมีรูปแบบออกไปในทางผสมผสานศูนย์การค้าเข้าไปด้วย (ข้อแตกต่างกันระหว่าง “ศูนย์การค้า” กับ “ห้างสรรพสินค้า”) จะเห็นได้จากจะมีการแบ่งโซนในส่วนที่เป็นโซนของห้างและโซนพลาซ่า(ของร้านค้าภายนอก)
Advertisements
2.) การเป็นคู่ค้าเพื่อนำสินค้าเข้าไปขายในห้างสรรพสินค้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
“การนำสินค้าเข้าไปขายของห้างสรรพสินค้าจะมีแบบที่ซื้อขาดกับแบบการขายฝาก”
ในการขายฝากนั้นจะต้องจ่ายค่าส่วนลดให้กับห้างสรรพสินค้า (GP)(Gross Profit) จากราคาสินค้าปกติที่ 20-30% ขึ้นอยู่กับว่าเป็นสินค้าอะไร ซึ่งทางห้างจะคอยเช็คดูยอดขายว่าสินค้าของเราขายดีหรือไม่ดีอย่างไร
ถ้าขายดีห้างก็ยิ้ม…เชิญให้อยู่ต่อไป แต่ถ้ายอดเตี้ยติดดินก็เตรียมตัวถูกถอดได้เลย ในกรณีที่ขายฝากกับห้างมีหลายปัจจัยที่ทางห้างเขาจะพิจารณาให้ไปอ่านในเรื่อง การพิจารณาสินค้าขายฝากกับห้าง
การเช่าพื้นที่กับห้างสรรพสินค้า จะมีพื้นที่เช่าอยู่ประมาณ 4 แบบ คือ
ร้านค้าขนาดใหญ่
เป็นรูปแบบที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาด 200 ตารางเมตร.ขึ้นไป โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นซุปเปอร์มาร์เก็ต(MAXVALUE)(TOP SUPERMARKET),หรือบริษัทที่ขายเฟอร์นิเจอร์(INDEX),บริษัทที่เกี่ยวกับของตบแต่งบ้าน(HOME WORK)
ร้านค้า
เป็นที่รูปแบบเป็นห้องร้านค้าขนาดกลางและเล็ก พื้นที่ใช้สอยอยู่ประมาณ 12-36ตารางเมตร อย่างเช่น ร้านขายเสื้อแฟชั่น,ร้านขายเครื่องสำอางค์,ร้านอาหาร,ร้านหนังสือ แตกต่างกันไปตามความต้องการในการใช้พื้นที่
บูธหรือคีออส
เป็นร้านที่มีขนาดพื้นที่ 4-6 ตารางเมตร อาจเป็นรถเข็นที่มีโครงสร้างหลัง หรืออาจเป็นบูธขายสินค้าจำพวกเครื่องประดับต่างๆ,ร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป เช่น นาฬิกา,เคสมือถือ,ต่างหู
ล็อค
เป็นล็อคที่มีขนาดพื้นที่ๅ 2-4 ตารางเมตร เป็นล็อคขายของที่จัดตามทางเดินเชื่อมต่างๆของห้าง อาจจัดเป็นช่วงๆตามเทศกาลงานต่างๆที่ทางห้างจัดขึ้น หรือจะจัดในรูปแบบลานโปรโมชั่นล็อคร้านค้าหลายๆร้านมารวมกันก็ได้
“หลังจากข้อ 2 เป็นต้นไปจะกล่าวแต่เรื่องการเช่าพื้นที่เท่านั้น”
3.) ทำเลที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า
เรื่องของการเข้าออกของตัวห้าง
สามารถเข้าออกห้างสรรพสินค้าได้กี่ทาง สะดวกในการเข้าออกหรือไม่ ตั้งอยู่ติดถนนใหญ่หรือไม่ เป็นถนนสายสาคัญที่สามารถเดินทางไปได้หลายสถานที่หรือไม่
เรื่องระบบขนมวลชนส่งต่างๆ
เช่น ถนนหลักหน้าห้างสรรพสินค้าเป็นถนนกี่เลน มีระบบรถไฟฟ้าBTS มีระบบรถไฟฟ้าMRT มีรถประจำทางกี่สาย(จากที่ไหนไปที่ไหนบ้าง) จะแสดงถึงโครงข่ายทุกสายที่มุ่งมาถึงห้างสรรพสินค้าว่าครอบคุมพื้นที่มากน้อยแค่ไหน
เรื่องสถานที่ตั้งต่างๆภายนอกรอบตัวห้างสรรพสินค้า
โดยพิจารณาที่รัศมี 5 km เช่น ที่พักอาศัยต่างๆไม่ว่าจะเป็น,หมู่บ้านทั้งเก่าและใหม่มีจำนวนประมาณเท่าไหร่,คอนโดมเนียมต่างๆรวมแล้วมีกี่ยูนิตแล้วเต็มหรือไม่, สถานที่ราชกาลต่าง,โรงพยาบาลต่างๆ จะเป็นการประเมินจำนวนคนที่มาใช้บริการในห้างสรรพสินค้าได้อีกส่วนหนึ่ง
4.คู่แข่งของห้างสรรพสินค้า
ห้างสรรพสินค้าด้วยกันเองที่ขนาดใกล้เคียงกัน
อาจเป็นห้างสรรพสินค้าดังลำดับต้นของเมืองไทย หรือห้างระดับรองลงมาของเอกชนรายใหม่ๆที่กำลังผุดขึ้นมาเลยๆ
ห้างขนาดกลางที่เน้นธุรกิจค้าปลีกแบบเน้นราคาถูก
ขายของประเภทอุปโภคและบริโภคเป็น เช่น Lotus,BIG C,Makro เป็นต้น
คอมมูนิตี้มอลล์(community mall) รวมคอมมูนิตี้มอลล์ ที่น่าสนใจ คลิ๊กเลย..
เป็นแหล่งรวมร้านค้าหลายๆร้านค้าในที่เดียว แต่มีขนาดพื้นที่รวมทั้งโครงการน้อยกว่าห้างสรรพสินค้า
การพิจารณาคู่แข่งตามประเภทต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เพื่อประเมินดูจำนวนคู่แข่งในพื้นที่เดียวกันที่จะนำไปหารเฉลี่ยจำนวนลูกค้า มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับจำนวนคู่แข่งในพื้นที่นั้นๆ ฉะนั่นควรรวมจำวนนคู่แข่งทั้งหมดหารด้วยจำนวนคนในพื้นที่รอบรัศมี 5 กิโลเมตร แล้วดูว่าแต่ละห้างจะมีคนมาใช้บริการประมาณกี่คนต่อวัน
5.ข้อมูลทั่วไปของห้างสรรพสินค้าที่ต้องพิจารณา
ผู้บริหารโครงการ
ห้างสรรพสินค้าก่อสร้างและบริหารงานโดยบริษัทใด มีชื่อเสียงเป็นอย่างไร วิสัยทัศน์และการแก้ไขปัญหาเป็นอย่างไร จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้สามารถหาได้ตามเว็บไซต์ๆที่มีอยู่อย่างมาก
อายุของห้าง
ระยะเวลาในการเปิดห้างมานั้นยาวนานแค่ไหนหรือพึ่งจะเปิดให้บริการ การเปิดใหม่ย่อมต้องใช้เวลานานในการที่จะทำให้ลูกค้ามาเดินห้าง มากกว่าห้างที่เปิดมานานจนมีลูกค้าเยอะอยู่แล้ว
ขนาดพื้นที่
จำนวนมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีขนาดพื้นที่ใหญ่ มีโซนให้บริการหลายอย่าง มีทั้งเรื่องช้อปปิ้ง ทั้งการให้บริการต่างๆ,โรงภาพยนต์,ลานโบว์ลิ้ง ความบันเทิงต่างๆมากมาย นั่นก็ย่อมทำให้มีผู้คนมาใช้บริการในห้างแห่งนี้มากเช่นกัน
ที่จอดรถ
เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาหากไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการแล้วย่อมทำให้เสียโอกาสทองไปโดยใช่เหตุ หากมีแต่พื้นที่ขายเยอะแล้วคนที่จะมาซื้อของไม่มีที่จะจอดรถ เขาก็ต้องไปห้างอื่นอย่างแน่นอน
6.การเตรียมข้อมูลต่างๆก่อนเข้าห้างสรรพสินค้า
เรื่องสินค้า
ควรเตรียมรูปของสินค้า หรือสินค้าตัวจริง ถ้ามีหลายตัวให้เลือกมาซัก 2-3ตัว แล้วอธิบายถึงจุดดีจุดเด่น จุดที่น่าสนใจของตัวสินค้า พยามยามนำเสนอ(present)ให้ทางห้างเห็นว่าสินค้าของเราจะทำยอดขายได้มากแค่ไหน
เรื่องร้าน
เตรียมรูปแบบของร้านไปด้วย ถ้าเป็นร้านที่เป็นสาขาก็ให้รูปถ่ายจริงจากสาขาที่มีอยู่แล้วไป เอาแบบที่มีบรรยากาศตอนลูกค้าเข้าร้านมากๆ จะสร้างความดึงดูดกับทางห้างได้อย่างดี แต่ถ้าเป็นร้านแรกที่เพิ่งเริ่มต้นลงทุน ก็ให้เตรียมแบบของร้านในรูป(perspective)ที่เห็นภาพตัวร้านที่เป็นแบบร้าน,ทั้งด้านหน้า,ด้างข้าง,และภายในร้าน สร้างความรู้สึกประทับใจให้กับเจ้าหน้าที่ทางห้างสรรพสินค้าได้อย่างชัดเจน
เรื่องของผู้ประกอบการ
ควรเตรียมเรื่องเอกสารต่างๆทั้งส่วนบุคคลและในส่วนนิติบุคคลจดทะเบียน ที่ตั้งของบริษัท,ที่ตั้งโรงาน,ภาพกระบวนการผลิตต่างๆที่จะสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้าของเรา
7.) สัญญาเช่ากับห้างสรรพสินค้า
การเช่าพื้นที่กับทางห้างสรรพสินค้านั้นต้องมีการทำสัญญาเช่า โดยจะมีรายละเอียดค่องข้างเยอะแต่จุดสัญคำที่ต้องพิจารณาก็คือ
ค่าเช่า เป็นเงินที่จ่ายต่อเดือน ตรวจสอบดูว่าเป็นราคาสุทธิแล้วหรือยัง ราคารวม VAT 7% แล้วหรือไม่ ด้วยส่วนใหญ่แจ้งแต่ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินประกัน โดยหลักปฏิบัติจะอยู่ที่ 2-3เดือน แล้วแต่ห้างสรรพสินค้า
เงินล่วงหน้า จ่าย 1 เดือน
ระยะเวลาของสัญญา ขึ้นอยู่กับแต่ละห้างมีตั้งแต่ 1-3 ปี แล้วแต่ข้อตกลง
การขอขึ้นค่าเช่าของห้าง ต้องดูข้อกำหนดในสัญญาให้ชัดเจนว่า จะขึ้นราคาค่าเช่าในระหว่างระยะเวลาสัญญาหรือหมดสัญญาแล้วต่อสัญญาใหม่ถึงจะขึ้น แล้วจะขึ้นได้ไม่เกินกี่เปอร์เซนต์ของค่าเช่า
การเปลี่ยนชื่อสัญญา (การเซ้งต่อ) สามารถเปลี่ยนชื่อเช่าในสัญญาได้หรือไม่ มีค่าเปลี่ยนชื่อสัญญาเท่าไหร่ บ้างที่อาจให้เปลี่ยนมือได้แต่บ้างที่ก็ไม่อนุญาติให้เปลี่ยนมือ
Advertisements
8.) ค่าใช้จ่ายหลังจากการเช่าพื้นที่กับห้างสรรพสินค้าแล้ว
ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง บ้างที่จะมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่มีราคาแตกต่างกันไปในแต่ละห้าง
ค่าที่จอดรถ บ้างที่อาจคิดเป็นรายเดือย บ้างที่อาจให้สิทธิจอดได้หนึ่งคัน
ความร่วมมือด้านค่าใช้จ่ายจัดกรรมกิจต่างๆกับห้าง เป็นส่วนที่ต้องศึกษาหาข้อมูลดูว่า ทางห้างจัดโปรโมรชั่นลดราคาต่างๆ แล้วให้เราร่วมรายการด้วย โดยต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนที่ลดราคาด้วย
ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นส่วนภายในของแต่ละกิจการจะไม่ลงรายละเอียด
ค่าภาษีรายได้ เช่นเดียวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีโรงเรือน ตรงนี้โดยส่วนใหญ่ผู้เช่าจะต้องรับภาระการจ่ายอยู่ที่ 12.5% ของค่าเช่า
9.) กฎระเบียบต่างๆของห้างสรรพสินค้า
เป็นอีกเรื่องที่ควรศึกษาและปฎิบัติตามที่ทางห้างสรรพสินค้ากำหนด เช่น เรื่องของการหยุด(อาจห้ามหยุดขายต้องเปิดทุกวันตามห้าง ควรจัดการเรื่องพนักงานขายให้ดี) เรื่องเวลาที่จะการเข้า-ออกห้างของพนักงานขาย เรื่องข้อกำหนดของการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เรื่องของขนาดไฟฟ้าที่อนุญาติให้ใช้งาน เป็นต้น
แต่ละห้างสรรพสินค้าก็จะมีระเบียบข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาว่าธุรกิจของเราสามารถทำได้ตามข้อกำหนดหรือไม่
10.) การประชาสัมพันธ์ของห้างสรรพสินค้า
ในการประชาสัมพันธ์ของห้างสรรพสินค้านั้นก็เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน ต้องดูว่าทางห้างมีแนวทางประชาสัมพันธ์อย่างไรบ้าง มีการจัดกิจกรรมต่างๆภายในห้างหรือไม่ มีความถี่ในการจัดมากน้อยแค่ไหน มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออะไรบ้าง มีโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์หรือไม่ ผ่านทางวิทยุหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆหรือไม่
ซึ่งในเรื่องการประชาสัมพันธ์เป็นสิ่งจำเป็นมาก หากไม่มีการโฆษณาเลยหรือน้อยเกินไป ย่อมทำให้การรับรู้ของลูกค้าน้อยลงไปเลยๆ แล้วนั่นจะทำให้คนซื้อน้อยลงไปด้วยเช่นกัน
สรุป หากใครสนใจเช่าพื้นที่ภาพในห้างสรรพสินค้าแล้วนั้น ก็ควรพิจารณาเรื่องต่างๆที่กล่าวมาแล้วให้รอบคอบ ว่ามีความเหมาะสมกับตัวธุรกิจของเราหรือไม่ ทำเป็น แผนธุรกิจ ให้ชัดเจน ตรวจสอบความพร้อมทุกๆด้านของตัวเราและตัวธุรกิจของเรา หากทำงานอย่างมากเพียงพอจนเกิดความมั่นใจแล้ว ก็ลงสนามรบแบบไร้พ่ายกันไปเลย.
เขียนโดย อาซาดะ ริวอิจิ
ลิขสิทธิ์โดย อาซาดะ ริวอิจิ
ทำเลขายของ.com
เรื่องน่าสนใจที่เกี่ยวข้อง เร็วๆนี้
Leave a comment